เลือกทำประกันรถยนต์ที่เหมาะสม

ทุกวันนี้รถยนต์มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพาหนะที่ทำให้การเดินทางไปไหนมาไหนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น โดยเฉพาะคนกรุงเทพที่นิยมใช้รถกันมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการใช้รถที่มากขึ้นนี้ ก็ย่อมทำให้มีพื้นที่บนท้องถนนน้อบลง และทำให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นนั่นเองครับ
ดังนั้น การทำ ประกันรถยนต์ ก็เป็นสิ่งที่ควบคู่กับการเป็นเจ้าของรถยนต์นะครับ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมา ค่าเสียหายทั้งรถทั้งคนย่อมสูงมากแน่นอน การทำ ประกันรถยนต์ จะสามารถช่วยทำให้เราอุ่นใจได้ เพราะทำให้เราไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าเสียหายด้วยตัวเอง แต่จะทำยังไงถึงจะเลือก ประกันรถยนต์ ที่เหมาะสม และโดนใจคนใช้งานได้? เรามาดูกัน

1. ประเภทของ ประกันรถยนต์
หากคุณกำลังมองหา ประกันรถยนต์ ที่เหมาะสมอยู่ แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกทำแบบไหนดี ลองดูข้อมูลประเภทประกันภัยรถยนต์ข้างล่างนี้เลยครับ
ประกันชั้น 1: คุ้มครองครบถ้วนที่สุด โดยจะให้ความคุ้มครองค่าเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน และคันคู่กรณี ค่าเสียหายของทรัพย์สินทั้งในรถยนต์คันเอาประกัน และคันคู่กรณี ค่ารักษาพยาบาล และค่ายาสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกัน และรถยนต์คันคู่กรณี โดยจะให้ค่าชดเชยความเสียหายกรณีรถยนต์คันเอาประกันเสียหายเนื่องจากไฟไหม้เพราะอุบัติเหตุ น้ำท่วม และการโจรกรรม
เหมาะสำหรับ รถใหม่ป้ายแดง รถยนต์ที่มีผู้ขับขี่มือใหม่ ยังไม่คล่องในการขับรถยนต์ และรถยนต์ที่ใช้งานเป็นประจำ หรือใช้งานหนัก

ประกันชั้น 2: ให้ความคุ้มครองที่รองลงมาจากประกันชั้น 1 โดยจะให้ความคุ้มครองค่าเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกัน และคันคู่กรณี ค่าเสียหายของทรัพย์สินทั้งในรถยนต์คันเอาประกัน และคันคู่กรณี ค่ารักษาพยาบาล และค่ายาสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกัน และรถยนต์คันคู่กรณี โดยจะให้ค่าชดเชยความเสียหายกรณีรถยนต์คันเอาประกันเสียหายกรณีไฟไหม้ และการโจรกรรม
เหมาะสำหรับ ผู้ที่ใช้รถยนต์ไม่บ่อยมาก เป็นผู้ขับขี่ที่มีประสบการณ์ ไม่ขับรถยนต์หวือหวา หรือขับเร็ว

ประกันชั้น 2+: ได้รับความคุ้มครองกรณีรถยนต์สูญหาย ความเสียหายเกิดขึ้นจากไฟไหม้ ความคุ้มครองต่อรถยนต์คันเอาประกันกรณีเกิดอุบัติเหตุกับยานพาหนะทางบก ค่ารักษาพยาบาลผู้ขับขี่ และผู้โดยสารในรถยนต์คันคู่กรณี
เหมาะสำหรับ รถที่ใช้งานเป็นประจำ จำเป็นต้องจอดในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม รถยนต์ที่ไม่มีที่จอดรถในที่ที่มีรั้วรอบขอบชิด

ประกันชั้น 3+: ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของคู่กรณี และความเสียหายของตัวรถ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุกับยานพาหนะทางบก ไม่คุ้มครองการสูญหายหรือการถูกไฟไหม้ ไม่คุ้มครองความเสียหายทั่วๆ ไป ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือไม่มีคู่กรณี
เหมาะสำหรับ รถเก่าที่มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป รถที่ใช้งานเป็นประจำ แต่สามารถจอดรถยนต์ในที่ๆ ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการโจรกรรม

ประกันชั้น 3: ให้ความคุ้มครองค่าเสียหายต่อรถยนต์คันคู่กรณี ค่าเสียหายของทรัพย์สินในรถยนต์คันคู่กรณี ค่ารักษาพยาบาล และค่ายาสำหรับผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรถยนต์คันคู่กรณี โดยจะไม่ให้ค่าชดเชยความเสียหายกรณีรถยนต์คันเอาประกันเสียหายกรณีไฟไหม้ เสียหายเพราะน้ำท่วม หรือถูกโจรกรรม
เหมาะสำหรับ รถยนต์ที่ไม่ได้นำออกมาใช้งานบ่อย นานๆ จะมีการนำออกมาใช้ครั้งหนึ่ง รถเก่าอายุ 7 ปีขึ้นไป รถยนต์ที่ไม่ได้จอดในพื้นที่เสี่ยงต่อการโจรกรรม

2. จำนวนเงินเอาประกันภัยรถยนต์
จำนวนเงินเอาประกันภัยรถยนต์ คือ จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทประกันจะจ่ายให้ ตามความคุ้มครองด้านต่างๆ เช่น ความเสียหายต่อตัวรถที่เอาประกันเนื่องจากการชน บริษัทอาจกำหนดจำนวนเงินไม่เกิน 600,000 บาทต่อครั้ง หรือความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก บริษัทอาจกำหนดจำนวนเงินไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อครั้ง เป็นต้น

3. เบี้ยประกันภัยรถยนต์
เบี้ยประกันภัยรถยนต์ คือจำนวนเงินที่ผู้ทำประกันจะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อแลกกับความคุ้มครองที่จะได้รับ ซึ่งเบี้ยประกันภัยรถยนต์นี้จะคิดเป็นต่อปี ส่วนจำนวนเบี้ยนั้นจะมากน้อยอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัย ความคุ้มครอง และทุนประกันของตัวรถที่ผู้ทำประกันได้เลือกไว้

4. การระบุผู้ขับขี่
การระบุผู้ขับขี่ เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดเบี้ยประกัน เพราะการระบุชื่อผู้ขับขี่นั้น จะทำให้ลดเบี้ยประกันลงไปได้บ้าง เหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีผู้ขับขี่ที่แน่นอนและไม่เกิน 2 คน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุโดยผู้ขับขี่ที่ไม่ได้ระบุชื่อไว้ในกรมธรรม์ ประกันก็ยังให้ความคุ้มครองครับ เพียงแต่ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบความเสียหายในบางส่วนเอง

5. การเลือกบริษัทประกันภัยรถยนต์
การเลือกบริษัทประกัน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งนะครับในการเลือกประกันภัยรถยนต์ โดยคุณสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้…
– ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยรถยนต์
– ชื่อเสียงของบริษัทประกันว่ามีชื่อเสียงในทางที่ดีหรือไม่
– การให้บริการของพนักงานบริษัทประกัน
– ความยากง่ายในการร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ
– เครือข่ายของอู่ซ่อมรถที่จัดไว้บริการหากเกิดอุบัติเหตุ
– มีตัวแทน หรือนายหน้าที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้
– ตัวแทน หรือนายหน้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวประกันภัยรถยนต์เป็นอย่างดี